ซะกาต : ความหมาย ความสำคัญและหลักการ
ทำไมต้องจ่ายภาษี ?
คำตอบก็คือ มันเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกันทำนุบำรุงและพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะส่งผลดีกลับมายังผู้จ่ายนั้นเอง ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำระปา การชลประทาน โรงเรียน โรงพยาบาล เงินเดือนข้าราชการ ทหาร ตำรจ และอื่นๆเหล่านี้ล้วนแต่มาจากภาษีของประชาชนทั้งสิ้น
แต่ในฐานะที่เป็นมุสลิม นอกจากจะต้องจ่ายภาษีให้แก่รัฐแล้ว ยังต้องจ่ายภาษีศาสนาที่เรียกว่า “ซะกาต” อีกส่วนหนึ่งให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับ 8 ประเภทตามที่ศาสนากำหนดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพสักการะพระเจ้า (อัลลอฮฺ)
การจ่ายซะกาตเป็นบทบัญญัติทางกฏหมายอิสลามที่กำหนดให้บุคคลและนิติบุคคลมุสลิมทีมีทรัพย์สินถึงพิกัดอัตราทที่ศาสนากำหนดไว้ (นิศอบ) ในวันครบรอบปีจันทรคติจะต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ออกไปจำนวนหนึ่งในอัตราที่ศาสนากำหนดไว้
ในทางศาสนา การจ่ายซะกาตเป็นวินัยบัญญัติสำคัญหนึ่งใน 5 ประการ สำหรับมุสลิมจะต้องปฏิบัติ การหลีกเลี่ยงถือเป็นบาปใหญ่และเป็นการเนรคุณต่อพระเจ้า
แต่หากมองในทางเศรษฐกิจและสังคม ซะกาตคือภาษีที่พลเมื่องมุสลิมทุกคนต้องจ่ายกลับสู่สังคมตามกำหนดเวลา ตามกรรมวิธีและตามอัตราที่ศาสนากำหนดไว้ ดังนั้น ซะกาตจึงไม่ใช่ “การบริจาคทาน” ตามความสมัครใจที่จะทำเมื่อใด อย่างไรและจำนวนมากน้อยแค่ใหนก็ได้ เหมือนกับการบริจาคทาน แต่มันเป็นภาษีอย่างหนึ่งซึ่งมีกฏเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติ
ที่เรียกซะกาตเป็นภาษี เพราะในสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด อิสลามมิได้เป็นแค่เพียงพิธีกรรมทางศาสนาในความหมายแคบๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่เป็นรัฐที่มีธรรมนูญ (คัมภีร์อัลกุรอาน) มีอธิปไตย มีอาณาเขตและมีประชาชนมุสลิมเป็นองค์ประกอบสำคัญในความหมายของคำว่ารัฐโดยสมบูรณ์ อิสลามก็จำเป็นต้องมีอำนาจรัฐหรือรัฐบาลเป็นผู้รักษากฏหมาย รัฐบาลของรัฐอิสลามในสมัยนั้นก็เหมือนกับรัฐบาลรัฐในสทุกอุดมการณ์ที่จะต้องมีรายได้มาใช้จ่ายในการป้องกันประเทศ และทำนุบำรุงบ้านเมืองในด้านต่างๆเป็นธรรมดา
แต่ “ซะกาต” กับ “ภาษีสมัยใหม่” มีความแตกต่างที่สำคัญอยู่ประการหนึ่งนั้นก็คือซะกาตเป็นภาษีที่อิสลามกำหนดให้เป็นวินัยบัญญัติสำคัญทางศาสนา การหลบเลี่ยงไม่จ่ายซะกาต อาจรอดพ้นจากการลงโทษของเจ้าหน้าที่รัฐได้ แต่โลกหน้าคนผู้นั้นไมม่อาจหลีกเลี่ยงการลงโทษจากพระะเจ้าไปได้ ส่ววนภาษีสมัยยใหมม่นั้นถูกแยกออกจากความรู้สึกทางศาสนาโดยสิ้นเชิง ดั้งนั้นผู้คนจะหาทางหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีโดยไม่มีความรู้สึกกลัวแต่ประการใด
ความหมายของคำว่า “ซะกาต”
คำว่าซะกาตเป็นคำภาษาอาหรับที่มีความหมายว่า “การขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ” “การเพิ่มพูล”และ “การเจริญงอกงาม”
การจ่ายซะกาตเป็นการขัดเกลาจิตใจของผู้มีทรัพย์สินให้สะอาดหมดจดจากความตระหนี่ถี่เหนียวซึ่งเป็นมนทินที่เกาะกินจิตใจให้สกปรกและหยาบกระดางขณะเดี่ยวกันก็เป็่นการซักฟอกทรัพย์สินที่หามาได้ให้สะอาดบริสุทธิ์
นอกจากนี้แล้วเหมมือมีการจ่ายซะกาตออกไปให้คนจน คนขัดสน หรือคนมีหนี้สินมันก็เป็นการสร้างอำนาจการซื้อให้แก่คนที่ไม่มีอำนาจ การซื้อ เมื่อคนในสังคมมีอำนาจซื้อก็จะส่งผลให้ร้านค้าสามารถรักษษการจ้างงานการกระะจ่ายรายได้ไว้ได้ระดับหนึ่งและะสร้างความจำเริญดีงามให้แก่ทั้งผู้ให้ ผู้รับ และสังงคมโดยรวม
ทรัพย์สินอะไรที่จะต้องจ่ายซะกาต ?
1. โลหะเงินและทองคำ เงินสด เงินในบัญชี หุ้น สินค้า (ของตนเองไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรืออัญมณี) ที่มีไว้ขายทั้งหมดไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นนำมาฝากขายหากมีมูลค่าเท่าราคาทองคำ หนัก 85 กรัม หรือประมาณ 5.66 บาท (ทองคำหนึ่งบาทหนัก 15 กรัม) เมื่อครบรอบปีก็จะต้องจ่ายซะกาต 2.5 % จากทรัพย์สินเหล่านี้
2. ผลผลิตจากการเกษตร หากเป็นผลผลิตที่เกิดจากการใช้ชลประทาน ที่ต้องลงทุนอัตราซะกาต คือ 5% หากไม่ใช้การชลประทานและอาศัยน้ำฝนอย่างเดี่ยว อัตราซะกาต คือ 10%
3. ปศุสัตว์ เช่น แพะ แกะ วัว ความ อูฐ เป็นต้น
4. ขุมทรัพย์ที่พบได้ในแผ่นดิน
ระยะเวลาของการจ่ายซะกาต
การเริ่มต้นปีซะกาตนั้นเริ่มต้นในวันคนผู้นั้นจ่ายซะกาตเป็นครั้งแรก นั้นคือ วันที่คนผู้นั้นมีทรัพย์สินครบพิกัดอัตราที่ศาสนากำหนดไว้ หลักจากนั้น เมื่อครบปีจันทร์คติซึ่งมี 354 วัน หากยังมีทรัพย์สินอยู่อีกก็จะต้องจ่ายอีกตามกัมวิธีเดิม เพราะซะกาตนั้นคิดจากทรัพย์สินที่ออมไว้ ไม่ใช่คิดจากรายได้สะสมไว้มาเท่าใด ก็ต้องจ่ายมากขึ้นเท่านั้นนี้คือความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ทุกคนเรียกร้องมาตลอดทุกยุคทุกสมัย
ผู้มีสิทธิ์ได้รับซะกาต
คำภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ซะกาตไม่ใช่สิทธิของเราหากเป็นสิทธิที่อัลลอฮฺ ได้กำหนดไว้เพื่อ
1. คนยากจน
2. จนอนาถา
3. คนที่ทำหน้าที่ในเรื่องจัดการซะกาต
4. คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลาม
5. ทาส และเชลย
6. คนมีหนี้สิน
7. ในหนทางของอัลลอฮฺ
8. คนที่ติดขัดในระหว่างเดินทาง
อ้างอิง: อ.บรรจง บินกาซัน. 1 ตุลาคม 2547. สารพันปัญหาว่าด้วยหลักการซะกาต. สำนักพิมพ์ อัลอามีน, กรุงเทพฯ.
ที่มา : www.muslimthai.com
One comment
Pingback: มัสยิดฮิดายาตุดดีนียะฮ์ บ้านเกาะใหญ่ รับบริหารจัดการ ซะกาต ฟิฏเราะฮ์ ประจำปี ฮ.ศ.1434